เรียนคณะไหนดีนะ จบมาเป็นช่างภาพ

สำหรับคนที่ชอบการถ่ายภาพเป็นชีวิตจิตใจ และมีความใฝ่ฝันว่าจะเป็นช่างภาพมืออาชีพ แต่ไม่รู้จะเริ่มจากไหนดี ควรจะเรียนคณะอะไรดี ขอบอกเลยว่าในปัจจุบันช่างภาพเก่ง ๆ คุณรู้ไหมว่าพวกเขาจบอะไรกันมา มีทั้งจบสัตว์แพทย์ จบบัญชี จบเอกวิทยาศาสตร์ พวกเขาเหล่านี้แทบไม่ได้จบมาในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพเลย แต่อะไรทำให้พวกเขาเก่งและถ่ายภาพออกมาเทพ ๆ กันล่ะ ?
ก่อนอื่นเลยว่าคนเราเก่งไม่เหมือนกัน มีความคิดแตกต่าง มองในมุมที่ต่างกัน คณะเป็นส่วนหนึ่งในปัจจัยของความสำเร็จเท่านั้น หากเราเลือกคณะที่เน้นในวิชาศิลปะ เราจะได้เรียนรู้ในด้านองค์ประกอบต่าง ๆ ของศิลปะ เข้าใจและรู้ความหมายของมัน สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการถ่ายภาพ เป็นตัวอย่างสำหรับใช้เป็นพื้นฐานความคิดในการหาองค์ประกอบในการถ่ายรูปให้ออกมาดูดี
แต่อย่างไรก็ตามในมหาลัยหลายแห่งยังมีเปิดคณะที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการถ่ายภาพอย่างสาขาวิชาศิลปะการถ่ายภาพ คณะวิจิตรศิลป์ ของมหาลัยเชียงใหม่, ศิลปกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาการถ่ายภาพ ของเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, คณะศิลปะและการออกแบบ สาขา ศิลปภาพถ่าย ของมหาวิทยาลัยรังสิต, สาขาเทคโนโลยีถ่ายภาพและภาพยนตร์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ล้วนแต่เป็นสาขาที่มีคุณภาพของมหาลัยชั้นนำของประเทศไทยทั้งสิ้น ก็บอกไม่ได้เหมือนกันว่าคณะของมหาลัยไหนดีกว่า แต่ไม่ว่ามหาลัยไหนที่เราจบมา สุดท้ายแล้วเราก็ต้องหาประสบการณ์ของตัวเองทั้งสิ้น การเรียนเป็นแค่การเตรียมพื้นฐานที่ควรมี แต่การเป็นช่างภาพที่ดีขึ้นอยู่กับตัวเองเองไม่มีใครสอนได้
สุดท้ายแล้วการเป็นช่างภาพไม่จำเป็นต้องเรียนเอกนู้น เอกนี้อะไรทั้งนั้น เราสามารถเรียนด้วยใจรัก ฝึกฝนทักษะการถ่ายภายให้ชำนาญด้วยตนเอง เดียวนี้มีสื่อการสอนเยอะแยะมากมายในอินเตอร์เน็ต รวมไปถึงหนังสือสอนการถ่ายภาพที่เขียนโดยช่างภาพระดับตัวท้อป อีกอย่างราคากล้องก็ไม่ได้แพงแบบเหมือนเมื่อก่อนอีกด้วย เราสามารถเข้าถึงง่าย มือใหม่ก็สามารถซื้อมาใช้ได้ หรือถ้าไม่มันใจก็อาจจะขอเพื่อนที่มีกล้องมาลองก็ได้
เชื่อไหมว่าผมเคยมีกล้องเป็นของตัวเองแต่แทบไม่ค่อยจะได้ใช้แล้ว แต่มีเพื่อนคนหนึ่งมายืมผมไปใช้ถ่ายงาน จนตอนนี้เขามีรายได้หลักแสนในการถ่ายนิตยสารแต่ละครั้ง ดังนั้นเราอย่าไปยึดติดให้ลงมือทำและนำความล้มเหลวมาปรับปรุงให้ดีขึ้น เพราะการถ่ายภาพที่ดีต้องใช้ใจ และมุมมองส่วนบุคคลในการกดชัตเตอร์ในแต่ละภาพให้ออกมาสวยงาม สามารถสื่อความหมายของภาพออกมาได้โดยไม่ต้องใช้ตัวอักษร ซึ่งจะทำได้ทุกคนต้องใช้เวลา และประสบการณ์ทั้งสิ้น